ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดในการจัดไฟแนนซ์ยื่นขอสินเชื่อรถยนต์มือสอง

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการจัดไฟแนนซ์ยื่นขอสินเชื่อรถยนต์มือสองแต่ละครั้งจะมีรายการดังนี้

ประกันภัยรถยนต์ สถาบันการเงินมีเงื่อนไขทำประกันภัยรถยนต์ทุกสัญญาเช่าซื้อ โดยส่วนใหญ่จะต้องทำประกันภัยชั้น 1 อาจได้รับการยกเว้นบางกรณีที่ให้ทำประกันภัยชั้น2 หรือชั้น3 ได้ และอาจจะทำการเลี่ยงประกันภัยรถยนต์ในกรณีที่รถยนต์ปีต่ำมากๆ
โอนทะเบียนรถยนต์ เสียค่าอากรสแตมป์ แสนละห้าร้อยบาท โดยคิดจากยอดจัดไฟแนนซ์ที่ยื่นขอสินเชื่อรถยนต์มือสองหรือทางกรมขนส่งทางบกประเมินราคาในการโอนและอาจจะบวกค่าบริการทางทะเบียนตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
ค่าธรรมเนียมธนาคารหรือค่าเอกสารต่่างๆ

ในกรณีที่ท่านจัดไฟแนนซ์ยื่นสินเชื่อรถยนต์ผ่านโบ๊กเกอร์นั้น ท่านจะต้องเสียเพิ่มเติมในส่วนของค่าบริการแต่ละแห่งซึ่งอาจเรียกเก็บถูกหรือแพงแล้วแต่จะตกลงยอมรับในข้อตกลงนั้นๆ

จัดไฟแนนซ์สินเชื่อรถยนต์มือสอง เครดิตดี เป็นอย่างไร

ท่านคงจะงง งง ว่าเครดิตดีเป็นอย่างไรในการยื่นขอสินเชื่อรถยนต์ จัดไฟแนนซ์ กับธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรี ธนาคารทิสโก้ เป็นต้น

เครดิตดีนั้นต้องประกอบด้วย
  1. อาชีพที่ทำอยู่นั้นมีความมั่นคง
  2. รายได้ที่รับนั้น คงที่หรือเพิ่มมากอย่างต่อเนื่อง
  3. พักอาศัยเป็นหลักแหล่ง(พักบ้านตนเอง บ้านญาติ เรียกง่ายๆว่าไม่ได้เช่าอยู่)
  4. รายได้ที่ได้รับนั้น เมื่อนำมาหักลบกับค่างวดแล้วต้องเหลือใช้ (ง่ายๆว่่า รายได้ มากกว่าค่างวด 1 เท่าของเงินเดือนหรือรายได้)
  5. ในกรณีที่มีประวัติผ่อน หรือ ชำระอื่นๆ ต้องมีประวัิติชำระตรงต่อดิวที่ต้องชำระ 
โดยหลักแล้วทางสถาบันการเงิน จะพิจารณาเรื่องเครดิตดี ไม่ได้ดี จะดูโดยรวมประกอบกันใน 5 ข้อดังกล่าวนี้

ถามว่าเครดิตดี แล้วได้อะไร ตอบเลยว่า ในการยื่นขอสินเชื่อรถยนต์ในการจัดไฟแนนซ์นั้นจะทำให้ท่านยื่นขอผลอนุมัติผ่านได้โดยง่ายและไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ค้ำประกัน แต่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการรับพิจารณาสินเชื่อรถยนต์มือสองของสถาบันการเงินแต่ละแห่งด้วย

สินชื่อรถยนต์มือสอง รับจัดไฟแนนซ์ทุกคันหรือไม่

การนำรถยนต์มือสองมาจัดไฟแนนซ์กับทางสถาบันการเงินนั้น สามารถรับจัดไฟแนนซ์ทุกคันหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่ทุกคัน และ ทุกยี่ห้อ ครับ โดยแต่ละสถาบันการเงินจะมีเงื่อนไขในการรับพิจารณาแตกต่างกันแต่จะมีเงื่อนไขที่เดิมกันอยู่ คือ ต้องเป็นรถยนต์ที่นิยมตามตลาด(toyota hondaเป็นต้น) สภาพปานกลางถึงดี

ส่วนใหญ่แล้วรถยนต์มือสองจะรับพิจารณาที่อายุใช้งานไม่เกิน 10ปี บางแห่งผ่อนผันได้ถึง15ปี หรือ 20ปี

รถยนต์ที่ดัดแปลงสภาพมา โดยเฉพาะ เปลี่ยนเครื่องยนต์นั้น สามารถดำเนินการจัดไฟแนนซ์ได้หรือเปล่า ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินว่าจะอนุญาติให้ขอสินเชื่อรถยนต์มือสองที่ดัดแปลงสภาพมาได้หรือไม่

โดยหลักแล้วรถยนต์ที่สามารถยืนขอสินเชื่อได้นั้นต้อง
  1. อายุการใช้งานไม่เกิน10ปี
  2. รถยนต์ไม่ได้มีการดัดแปลงสภาพ
  3. รถยนต์ต้องมีสภาพสมบูรณ์ในขั้นปานกลางถึงดี

เลือกสินเชื่อรถยนต์มือสอง จัดไฟแนนซ์ที่ไหนดี

สินเชื่อรถยนต์มือสองหรือที่เรียกกันติดปากว่าจัดไฟแนนซ์ ทำไมต้องเลือกว่าที่ไหนดีล่ะ เพราะว่าแต่ละแห่งนั้นมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปตามภาวะการแข่งขันนั้นเอง วิธีในการเลือกว่าที่ไหนดีก็คือการเปรียบเทียบข้อเสนอแต่ละแห่งที่เสนอให้ ดังนี้

  1. ยอดจัดไฟแนนซ์
  2. อัตราดอกเบี้ย
  3. เงื่อนไขผู้ค้ำประกัน
  4. อัตราค่าธรรมเนียม ต่างๆ
  5. บริการทำสัญญาถึงที่บ้าน
  6. ความน่าเชื่อน่า ความมั่นคง ผ่อนครบแล้วจะได้เล่มทะเบียนรถยนต์หรือไม่
ด้วย6ข้อที่กล่าวมาทำให้คุณต้องเลือกที่เงื่อนไขดังกล่าวว่าคุณตัดสินใจยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสองว่าจะจัดไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินแห่งใจ ใช้ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวชั่วน้ำหนักเปรียบเทียบครับ

คำว่ายอดจัดไฟแนนซ์ ในการยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสอง คืออะไร

การยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสอง ท่านจะได้ยินคำว่ายอดจัดไฟแนนซ์ได้เท่าไร ได้มากกว่านี้ไหม

ยอดจัดไฟแนนซ์ - หลายท่านได้ยินแต่ไม่รู้ว่าแต่ละรถยนต์สามารถขอยอดจัดไฟแนนซ์ได้เท่าไร บอกได้เลยว่า ยอดจัดไฟแนนซ์มาจากราคาประเมินรถยนต์ โดยหาจากราคาที่ตั้งขายรถยนต์ใน รุ่น และ ปีที่จดทะเบียนรถยนต์ นำมารวมและหาค่าเฉลี่ย โดยทางสถาบันการเงินอาจจะเก็บข้อมูลเอง หรือ จ้างบริษัทนอกทำการสำรวจและประเมินราคาออกมาเบื้องต้น

วิธีการหายอดจัดไฟแนนซ์แบบคราวๆ คือ หาราคารถยนต์รุ่น ยี่ห้อ โฉม ปีจดทะเบียนเดียวกัน รวมกัน10คันขึ้นไป แล้วหารออกเป็นค่าเฉลี่ย และนำค่าเฉลี่ยนั้นมาคูณ80เปอร์เซ็นต์ (ทำไมต้อง80เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณต้องดาวน์รถยนต์อยู่ที่20เปอร์เซ็นต์ 100-200=80 )

สินเชื่อรถยนต์มือสองนั้นเงื่อนไขในการดาวน์แต่ละสถาบันการเงินนั้นจะไม่เท่ากัน ดาวน์รถยนต์จะเริ่มต้นตั้งแต่ 5 - 35 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยุ่กับปีจดทะเบียนรถยนต์ อาชีพ รายได้ ที่พักอาศัย ประกอบร่วมกันในการพิจารณาเรื่องเงินดาวน์

ยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสองผ่าน โบ๊กเกอร์ ดิลเล่อร์ แตกต่างกันอย่างไร

การยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสองนั้นถ้าท่านไม่ติดต่อเองโดนตรงกับสถาบันการเงิน ท่านจะต้องดำเนินการติดผ่านทางโบ๊กเกอร์ หรือ ดิลเล่อร์

โบ๊กเกอร์ กับ ดิลเล่อร์ ต่างกันอย่างไร

โบ๊กเกอร์ จะเป็นนายหน้า ให้กับสถาบันการเงินนั้นๆ โดยจะต้องยื่นเอกสารเพื่อขอเป็นนายหน้าและโดยเงื่อนไขที่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีสถานประกอบการที่ชัดเจน
ดิลเล่อร์ จะเป็นนายหน้าเหมือนกัน โดยดำเนินการเปิดโชว์รูมรถยนต์ หรือ เต้นท์รถยนต์มือสอง อยู่แล้ว และยอดจัดไฟแนนซ์สำหรับดิลเล่อร์จะได้เงื่อนไขที่ดีกว่าโบ๊กเกอร์เสมอ

สินเชื่อรถยนต์ปิดบัญชีธนาคารธนชาต

ท่านต้องการปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสองที่ทำสัญญาเช่าซื้อกับธนาคารธนชาต มี 2 วิธีคือ
1.เคลียร์ยอดหนี้ที่ต้องชำระหนี้ และให้ทาง ธนาคารธนชาต ดำเนินการเรื่องโอนทะเบียนรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในส่วนโอนทะเบียนรถยนต์จะอยู่ในช่วง 1400 ถึง 2000 บาทแล้วแต่เงื่อนไขการแจ้งใช้รถยนต์ และ ภูมิลำเนาผู้เช่าซื้อเป็นหลัก
2.เคลียร์ยอดหนี้ที่ต้องชำระหนี้ และทำการมัดจำเพื่อนำเล่มทะเบียนรถยนต์มาดำเนินการโอนเองหรือจ้างผู้อื่นโอนให้ โดยแบ่งอัตรามัดจำรถยนต์เป็น

รถยนต์ที่ไม่ใช่กระบะ มัดจำที่ 5000 บาท
รถยนต์ประเภทกระบะ มัดจำที่ 7000 บาท

เงื่อนไขปัจจุับันล่าสุด ณ วันทีี่่ 01/10/53 เรื่องขอมัดจำคืน จะต้องนำเล่มทะเบียนตัวจริงไปแสดงไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

เอกสารประกอบที่ปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสอง

เมื่อจัดไฟแนนซ์ หรือ รีไฟแนนซ์อนุมัติเสร็จแล้ว เกิดมีเงินสดต้องการปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสองนั้นต้องใช้เอกสารใดประกอบด้วยในการปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสอง

เอกสารที่จำเป็นในการปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสอง

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • ใบเปลี่ยนชื่อตัว ใบเปลี่ยนนามสกุล ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจากในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำไว้
  • ใบโอนรถยนต์ เซ็นต์ในช่องผู้รับโอน สอง ที่
  • ใบมอบอำนาจกระทำแทน
  • สัญญาเช่าซื้อ ถ้าไม่มีหรือหายไม่ต้องกังวล นำสลิปจ่ายค่างวดแทนก็ได้
เพียงมีเอกสารดังกล่าวนี้ครบ และ เช็คยอดปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสองเรียบร้อยแล้วว่ายอดจำนวนเท่าใด ท่านนำเงินสดไปดำเนินการชำระหนี้ ปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์มือสองได้เลย ที่ในส่วนบริการฝ่ายเช่าซื้อรถยนต์พร้อมยื่นเอกสาร

สินเชื่อรถยนต์มือสอง ในการปิดบัญชีหรือชำระหนี้เคลียร์ทั้งหมด

ท่านสงสัยไหมว่า สินเชื่อรถยนต์มือสองนั้นถ้าต้องการปิดบัญชีรถยนต์นั้นสามารถดำเนินการปิดบัญชีได้ตั้งแต่งวดไหนตอบว่าท่านสามารถดำเนินการปิดบัญชีรถยนต์ได้ทุกเมื่อ

การปิดบัญชีรถยนต์สำหรับสินเชื่อรถยนต์มือสองนั้น ท่านจะได้ส่วนลดดอกเบี้ยทุกครั้งที่ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่vat7%นั้นไม่ได้ส่วนส่วนลด

ปิดบัญชีรถยนต์สามารถดำเินินการติดต่อที่สถาบันการเงินได้โดยตรงที่ฝ่ายเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อปิดบัญชีรถยนต์แล้วทางสถาบันการเงินจะทำเรื่องโอนทะเบียนรถยนต์ให้โดยจะโอนเข้าชื่อผู้เช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อก่อนลำดับแรก

ขั้นตอนการทำสินเชื่อรถยนต์ใหม่(ป้ายแดง) จัดไฟแนนซ์เป็นอย่างไร

สินเชื่อรถยนต์ใหม่ป้ายแดง ท่านคงคิดว่าต้องไปติดต่อธนาคารเองหรือถึงจะจัดไฟแนนซ์รถยนต์ป้ายแดงได้ ท่านคิดถูกครึ่งนึงครับ ที่ว่าครึ่งเพราะต้องติดต่อธนาคารแต่ไม่ใช่ท่านติดต่อเอง ทางโชวรูมจะติดต่อให้ท่านไม่ต้องกังวลไป ขั้นตอนเป็นดังนี้
  1. เตรียมเอกสารประกอบการยื่นสินเชื่อรถยนต์(จัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์)ให้ครบถ้วน
  2. หาข้อมูลรถยนต์ที่ท่านต้องการจะออกรถยนต์ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกรุ่นไหน
  3. ไปโชว์รูมรถยนต์ยี่ห้อที่ท่านต้องการจะออกรถใหม่
  4. ดูรถยนต์ ลองขับ ใช้เวลาตัดสินใจเลือกว่าชอบหรือไม่ชอบ ข้อแนะนำไม่ควรรีบร้อน หรือ แสดงว่าท่านอยากจะได้มากเพื่อ ใช้ในการต่อรองขอของแถม หรือ ส่วนลด ในการซื้อรถยนต์ป้ายแดง
  5. ดูรถยนต์เสร็จ ตกลงเรื่องขอแถมเรียบร้อย สอบถามถึงเรื่องไฟแนนซ์ว่า ทางโชว์รูมมีไฟแนนซ์ของสถาบันการเงินแห่งใด ถามถึงเงื่อนไขการดาวน์ และ อัตตาดอกเบี้ย
  6. เมื่อท่านรับได้ถึงเงื่อนไขที่เสนอเรียบร้อย แล้วโชว์รูมจะเรียกเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงินมาทำสินเชื่อรถยนต์ใหม่ใ้ห้ท่านโดยการรอ หรือ ถ้าโชคดีมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่โชว์รูม หรือ เจ้าหน้าที่ผ่านมาพอดีท่านก็จะไม่ต้องเสียเวลารอ
  7. เซ็นต์สัญญาเช่าซื้อเรียบร้อย วันทำการถัดไปเจ้าหน้าที่ถึงทำการส่งเอกสารเข้าระบบเพื่อทำการตรวจสอบตามเงื่อนไขสถาบันการเงินนั้นๆ
  8. 2 ถึง 7 วันทำการถึงทราบผลอนุมัติ
  9. เมื่อเรื่องอนุมัติผ่าน ก็ไปจ่ายเงินดาวน์ และรับรถยนต์ไปขับได้เลย
 วิธีตรวจรับรถยนต์ป้ายแดง(รถใหม่)

*จะได้ทราบได้อย่างไรว่าเรื่องผ่าน สอบถามทางเซลล์ที่ขายรถยนต์กับเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน
**ทำสัญญาซื้อ ขายรถยนต์ให้เรียบร้อย
***ตรวจสอบเลขตัวถังรถยนต์ เลขเครื่องยนต์ สีรถยนต์

ขั้นตอนในการยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสอง จัดไฟแนนซ์หรือรีไฟแนนซ์เอง

  1. เตรียมเอกสารประกอบการยื่นสินเชื่อรถยนต์(จัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์)ให้ครบถ้วน
  2. ติดต่อธนาคารฝ่ายเช่าซื้อรถยนต์ ขั้นตอนนี้สอบถามถึงยอดจัดไฟแนนซ์ว่ารถยนต์ท่านสามารถขอสินเชื่อรถยนต์ได้ ที่วงเงินเท่าไร พร้อม อัตราดอกเบี้ย
  3. เงื่อนไขทางธนาคารแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งนัดทำสัญญาเช่าซื้อที่ธนาคาร บางแห่งส่งเจ้าหน้าที่มาทำสินเชื่อรถยนต์ให้ถึงที่บ้าน ที่ทำงาน 
  4. วันทำการถัดไปจึงดำเนินการส่งเอกสารเข้าระบบตรวจสอบตามเงื่อนไขธนาคารที่ขอสินเชื่อรถยนต์
  5. ประมาณ2 ถึง 7 วันทำการจึงทราบผลว่าอนุมัติหรือไม่ หรืออนุมัติแต่ลดยอดจัดไฟแนนซ์เนื่องด้วยสาเหตุใด หรือต้องการผู้ค้ำประกันเพิ่ม
  6. เมื่อเรื่องผ่านแล้ว ทางธนาคารจะนัดทำการการโอนรถยนต์เข้าชื่อธนาคารเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แล้วผู้ยื่นสินเชื่อรถยนต์เป็นผู้ครอบครอง ใช้เวลา 1 วันทำการในกรณีรถยนต์ปกติ ต้นขั้วทางกรมขนส่งปกติ
  7. หลังจากโอนเสร็จ เงื่อนไขเวลาในการทำเรื่องเบิกเช็คแต่ละแห่งไม่เท่ากัน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 1 ถึง 3 วันทำการ
ขั้นตอนในการยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสองเป็นประการเช่นนี้

จัดไฟแนนซ์เพื่อออกรถยนต์ป้ายแดง

หลักการง่ายๆ สำหรับสินเชื่อรถยนต์ใหม่(ป้ายแดง) จัดไฟแนนซ์ง่ายกว่าสินเชื่อรถยนต์มือสอง ตรงรถยนต์ป้ายแดง มีความสมบูรณ์ของรถยนต์สูง ค่าเสื่อมของรถยนต์มีน้อย ค่าเสี่ยงต่อการขาดทุนจากการปล่อยสินเชื่อต่ำ

วิธีตรวจรับรถยนต์ป้ายแดง(รถใหม่)

กฎง่ายสำหรับการจัดไฟแนนท์รถป้ายแดง
  1. เิงินเดือน 3 เท่าของค่างวด ยื่นสินเชื่อคนเดียวได้เลย แต่ต้องมีที่พักอาศัยชัดเจน ไม่ได้เช่าอยู่
  2. ดาวน์มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของราคารถยนต์
  3. ไม่มีติดประวัติเสียทางด้านเครดิต
เพียงท่านมี 3 ประการครบถ้วน ท่านก็สามารถออกรถป้ายแดงได้สบายแล้ว
เอกสารที่ใช้ประกอบสินเชื่อรถยนต์

เอกสารประกอบการยื่นสินเชื่อรถยนต์(จัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์)

เอกสารการทำสินเชื่อรถยนต์ จัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ ประกอบด้วย
  • บัตรประชาชน หรือ บัตรข้าราชการ ใช้ประกอบด้วยกัน 3 ชุด (คือ1ใช้ในการโอนรถยนต์ 2ใช้ในการตรวจสอบเครดิตบูโร 3ใช้ในการเช่าซื้อรถยนต์)
  • ทะเบียนบ้าน ใช้ประกอบด้วยกัน 3 ชุด 
  • ใบรับรองเงินเดือน(ควรมีอายุไม่เกิน30วัน) หรือ สลิปเงินเดือน(3เดือนล่าสุด)
  • สมุดเงินฝากธนาคาร อัพเดตล่าสุด 3 ถึง 6 เดือน
โดยทั่วไปแล้ว ใช้เอกสาร 4 อย่างนี้ สำหรับพนักงาน ข้าราชการ ทั่วไป จะใช้เสริมก็จะมีบัตรประจำตัวพนักงาน

สินเชื่อรถยนต์มือสอง จัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ยากไหม

หลายท่านคิดว่าการจัดไฟแนนซ์เป็นเรื่องยาก ความจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิด เพียงมีเงื่อนไขในการยื่นสินเชื่อรถยนต์มือสอง ดังนี้
  • เป็นผู้ที่ไม่มีติดประวัติ ผ่อนชำระล่าช้า เกิน 60 วัน (ผ่อนทุกอย่าง บัตรเครดิต บ้าน รถยนต์ จักรยานยนต์)
  • มีฐานเิงินเดือนสุทธิ หรือ รายได้สุทธิสูงกว่าค่างวดรถยนต์ที่ต้องผ่อนต่องวดต่อเดือนเป็นจำนวน 2 เท่า
  • พักอาศัยบ้านตนเอง หรือ บ้านสวัสดิการ ไม่ได้เช่าอยู่
  • มีสมุดเงินฝากธนาคาร ที่สำคัญควรเหลือเงินติดบัญชีไว้บ้าง เกินหลักร้อย
  • มีผู้้ค้ำประกันได้ยิ่งดี ไม่มีประวัติเครดิตเสีย ฐานเงินเดือนสุทธิ สูงกว่าค่างวด เท่าครึ่ง
โดยหลัก หลักแล้ว มีครบองค์ประกอบ 5 ข้อดังกล่าว สามารถติดต่อยื่นสินเชื่อรถยนต์ ทำการติดต่อจัดไฟแนนซ์เองได้ที่ธนาคาร ฝ่ายเช่าซื้อรถยนต์ได้เลยครับ
เอกสารประกอบการยื่นสินเชื่อรถยนต์(จัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์)

ค่างวดสินเชื่อรถยนต์มือสองจัดไฟแนน เค้าคิดกันอย่างไร

หลายคนยังไม่รู้ว่าเค้าคิดคำนวณค่างวดรถยนต์ในการจัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนท์กันอย่างไร เรามาเริ่มกันเลย

1 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลำดับแรก ยอดจัดไฟแนนซ์ หรือ วงเงินกู้ขอสินเชื่อรถยนต์มือสอง ในที่นี้ขอตั้งสมมุติไว้ว่าเป็นรถยนต์ โตโยต้า โซลูน่า ปี2000 ขอยอดสินเชื่อไว้ที่ 200000

2เมื่อทราบยอดจัดไฟแนนซ์ สิ่งที่ต้องทราบต่อคือ อัตราดอกเบี้ย ส่วนใหญ่ทุกสถาบันการเงินจะมีเรทดอกเบี้ยที่ไล่กันอยู่ จะต่างกัน บวกลบไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ เพราะ ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลและตรวจสอบอยู่ในที่นี้ สมมุติดอกเบี้ยไว้ที่ 5 เปอร์เซ็นต์

3เมื่อรู้ยอดจัดไฟแนนซ์ และ ดอกเบี้ยแล้ว สิ่งที่ต้องรู้ต่อคือ ระยะเวลาในการผ่อน เริ่มต้นที่ 2 ปี ถึง 6ปี (ระยะเวลาในการผ่อน มีต้นกับเรื่องดอกเบี้ยด้วยด้วย ถ้าระยะเวลายาว ดอกเบี้ยจะบวกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย) ในข้อนี้สมมุติว่า 5 ปี 60งวด

สูตรคิดคำนวณ คือ
  • ยอดจัดไฟแนนซ์ คูณด้วย ดอกเบี้ย จะได้ ดอกเบี้ยต่อปี
  • นำดอกเบี้ยต่อไป คูณด้วย จำนวนปีที่ผ่อน จะได้ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมทั้งหมดในอายุสัญญาเช่าซื้อ
  • นำดอกเบี้ยรวม มาบวกดับ ยอดจัดไฟแนนซ์ จะได้ ยอดหนี้ที่ต้องชำระรวมทั้งสิ้นก่อนบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • นำยอดหนี้ที่ต้องชำระก่อนรวมvat7% มาคูณกับ Vat7% ก็จะออกมาจะยอดหนี้ทั้งหมด
ยอดจัดไฟแนนซ์ 200000
ดอกเบี้ย 5%
ระยะเวลา 5 ปี

200000 คูณ 5% = 10000
10000 คูณ 5ปี = 50000
50000 บวก 200000 = 250000
250000 คูณ 1.07 = 267500 (250000คูณ7% = 17500  / 250000บวก17500 = 267500)

เช่าซื้อรถยนต์(สินเชื่อรถยนต์มือสอง)อย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด (การทำไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์)

เช่าซื้อรถยนต์อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด  
 
ในปัจจุบัน ถ้าต้องการเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันหนึ่ง คงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะนอกจากตัวผลิตภัณฑ์คือ รถยนต์ที่มีหลายแบบ หลายรุ่น ที่ผู้ผลิตรถยนต์ผลิตออกมาจำหน่ายในท้องตลาด ได้พยายามสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้ ทุกรูปแบบ และทุกเพศทุกวัย ตามแต่ความต้องการและกำลังเงินของผู้บริโภค ขณะเดียวกันในฝั่งผู้สนับสนุนการเช่าซื้อรถยนต์หรือบริษัทผู้ให้เช่าซื้อก็ นำเสนอเงื่อนไขสำหรับผู้ต้องการรถยนต์แต่กำลังเงินไม่เพียงพอ ในเงื่อนไขที่ดึงดูดให้เกิดการก่อหนี้ ไม่ว่าจะเป็นดาวน์ต่ำ ดอกเบี้ยถูก ระยะเวลากู้นาน ซึ่งก็แล้วแต่ผู้บริโภคจะถูกใจเงื่อนไขของที่ใด ผู้บริโภคที่กำลังจะเช่าซื้อรถยนต์สักคันจึงควรพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่ดี ที่สุด

1. รถยนต์ สำหรับรถยนต์คงต้องเป็นเรื่องความพึงพอใจของเจ้าของเพราะรถยนต์จะเป็น ทรัพย์สินและผูกพันกับเจ้าของไปนานพอสมควรหลักการพิจารณาคงจะไม่กล่าวถึงมาก นัก แต่ก็ไม่ควรละเลยในเรื่องของราคาในอนาคต เพราะเป็นที่ทราบดีว่าราคารถยนต์ เมื่อผ่านไปประมาณ 1 ปี ราคาจะลดลงประมาณ 25% และลดลงอีกประมาณ 10% ในปีต่อไป จึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยนี้ประกอบ ถ้าหากไม่ต้องการให้สินทรัพย์ของเราด้อยค่าลงไปมาก นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงค่าบำรุงรักษา ค่าอะไหล่รถยนต์ที่จะเกิดขึ้นในระยะอีก 2-3 ปี หลังจากซื้อรถยนต์และใช้งานไปแล้ว แต่ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงมากน่า จะเป็นเรื่องค่าน้ำมัน เพราะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เมื่อราคาน้ำมันเบนซินลอยตัว และในอนาคตหากราคาน้ำมันดีเซลที่รัฐบาลต้องการจะให้ลอยตัวอีก ย่อมกระทบต่อผู้ใช้รถยนต์แน่นอน ฉะนั้นก็ต้องลองคำนวณค่าใช้จ่ายกันให้ดี เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นภาระในระยะยาว

2. เงื่อนไขสำหรับเช่าซื้อรถยนต์ มีข้อพิจารณาที่ควรคำนึงถึง ดังนี้อัตราดอกเบี้ย เป็นที่รู้กันดีว่าดอกเบี้ยเช่าซื้อในบ้านเราเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ เรียกว่า Flat Rate ในความเป็นจริงผู้เช่าซื้อควรรับรู้ว่าอัตราดังกล่าวต้องแปลงเป็นดอกเบี้ย ที่แท้จริง หรือที่เรียกกันว่า Effective Rate ก่อน เราจะได้รู้ว่าจริงแล้วภาระดอกเบี้ยที่แท้จริง คือเท่าใด ตัวอย่างถ้าดอกเบี้ยที่บริษัทให้เช่าซื้อคิดที่ 3.0% (Flat Rate) ดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือ Effective Rate ควรจะอยู่ที่6.0% (โดยประมาณ) ซึ่งเราก็จะเปรียบเทียบได้ว่า การกู้ด้วยวิธีเช่าซื้อดีกว่าการหาแหล่งเงินกู้ด้วยวิธีอื่นหรือไม่ เช่นการกู้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
(Floating Rate) ที่มีการชำระค่างวดแล้วสามารถลดต้นลดดอกเบี้ยได้ แต่ก็มีความเสี่ยง ถ้าในอนาคตอัตราดอกเบี้ยสูง ภาระดอกเบี้ยก็จะสูงตาม ผิดกับเช่าซื้อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ก็ไม่ต้องรับความเสี่ยงถ้าอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่จะกู้ก็ดูกันนิดว่า ดอกเบี้ยอยู่ระหว่างขาขึ้นหรือขาลง

ระยะเวลาการกู้ ควรจะเลือกระยะเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้เวลาที่เหมาะสมควรประมาณ 48 งวดหรือ4 ปีเพราะการกู้ระยะยาวก็มีผลดีในแง่ภาระค่างวดน้อยจัดการเรื่องเงินได้ง่าย แต่ดอกเบี้ยก็จะมากเป็นเงาตามตัว แม้ว่าในระหว่างทางเราสามารถเอาเงินไปลดภาระหนี้ได้ โดยปิดบัญชีก่อนกำหนด ตามหลักทั่วไปสามารถที่จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยส่วนที่เหลือประมาณ 50% แต่เราก็ถูกคำนวณดอกเบี้ยตามระยะเวลาสัญญาระบุไว้ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว ถึงได้ส่วนลดก็ยังถูกคำนวณดอกเบี้ยไปแล้ว

เงินดาวน์ ถือเป็นเงินทุนก้อนแรก ที่ผู้ซื้อรถยนต์ต้องจัดหามาเองก่อน ซึ่งเงินดาวน์จะเป็นตัวปรับความสามารถในการผ่อนชำระค่างวด เพราะถ้ามีเงินก็ควรวางดาวน์สูงหน่อย ซึ่งปัจจุบัน สถาบันการเงินหลาย ๆ แห่ง จะกำหนดไว้ที่ 20-25% ของราคารถยนต์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกำลังเงินของผู้ซื้อ และเงินดาวน์ก็จะช่วยในเรื่องดอกเบี้ยได้เช่นกัน เพราะถ้าวางเงินดาวน์รถยนต์สูงโอกาสที่จะเสียดอกเบี้ยก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จะทำให้ไม่ต้องแบกภาระดอกเบี้ยไปในตัว ข้อสังเกตสำหรับการซื้อรถยนต์ในปัจจุบันมักจะเห็นโฆษณา ดาวน์ 0% หรือดาวน์ต่ำ 50,000 บาท หรือ 60,000 บาท ก็ให้คำนึงว่า ในความเป็นจริง Campaign ต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะซ่อนภาระให้ผู้กู้โดยเราไม่รู้ตัว

ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ประเด็นนี้ ผู้เช่าซื้อมีโอกาสเลือกได้เพราะปัจจุบันผู้ขายรถยนต์ ก็จะมีการแถมประกันภัยให้ แต่ถ้าไม่มีของแถมก็เลือกเบี้ยประกันภัยที่สมเหตุสมผล ต้องอ่านรายละเอียดในกรมธรรม์ให้ครบถ้วน เพราะบางกรณีเบี้ยประกันภัยถูกแต่ความคุ้มครองก็น้อยลง ซึ่งบางครั้งเราคำนึงถึงของแถม โดยไม่สนใจว่าเงื่อนไขจะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง จะรู้ตัวเมื่อเกิดเหตุแล้วเรียกร้องทีหลังมักจะไม่คุ้มค่า

ผู้ให้เช่าซื้อหรือที่เราเรียกติดปากว่า
บริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งก็มีหลากหลาย ส่วนใหญ่ผู้เช่าซื้อก็จะได้แรงเชียร์จาก เซลส์ขายรถยนต์ซึ่งก็ไม่น่าที่จะมีปัญหาอะไร แต่ควรพิจารณาหรือศึกษาแต่ละแห่งในเรื่องการให้บริการ การติดต่อ ตลอดจนการบริการหลังการขายว่ามีการให้บริการที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

สำหรับ ผู้บริโภคที่กำลังมองหารถยนต์ไว้ใช้งานหรือประกอบอาชีพ และยังต้องพึ่งพาเงินกู้ ก็จะได้มีแง่คิดเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เพราะสุดท้ายเมื่อตัดสินใจแล้วก็ให้ถือว่าได้คิดครบถ้วนแล้ว และให้ถือเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับเราก็น่าพอใจแล้ว

อนุชาติ ดีประเสริฐ
สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย

คิดภาษีรถยนต์ ประเภทรถยนต์ รย.1

ที่มา
กรมการขนส่งทางบก
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
บัญชีอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
     รถที่เก็บเป็นคัน                           บาท
เก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)                       บาท
1. ความจุกระบอกสูบ
   1.1  600 ซีซี  ๆ ละ                                  0.05
   1.2  601 - 1,800 ซี.ซี.  ๆ ละ                     1.50
   1.3  เกิน    1,800 ซี.ซี.  ๆ ละ                    4.00
2   เป็นนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ             2 เท่า
3. เป็นรถเก่าใช้มานานเกิน 5 ปี   ให้ลดภาษี     ร้อยละ
   3.1 ปีที่ 6                                                  10
   3.2 ปีที่ 7                                                  20
   3.3 ปีที่ 8                                                  30
   3.4 ปีที่ 9                                                  40
   3.5 ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป                             50
4. เป็นรถที่ใช้ล้ออย่างอื่นนอกจากล้อยางกลวง
    เพิ่มอีก                                                    1/2
1  รถจักรยานยนต์  คันละ                   100
2. รถพ่วงของรถจักรยานต์  คันละ          50
3. รถพ่วงนอกจากข้อ คันละ             100
4. รถบดถนน  คันละ                           200
5. รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร   คันละ 50  
1 - 600 CC คูณ 0.5 = Tax
601 - 1799 CC คูณ 1.5 - 600 = Tax
1800 CC ขี้นไป คูณ 4 - 5100 = Tax

ตัวอย่าง รถยนต์เครื่องประมาณ 1298 cc 
1,298 x 1.5 = 1,947
เสียภาษี 1,947 - 600 = 1,347 บาท 


** ภาษีรถยนต์ไม่ได้ต่อหรือเลยเวลา(ภาษีขาด)คิดเบี้ยปรับ ร้อยละ 1 ต่อเดือน

*** ภาษีรถยนต์ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียน ต้องทำการชำระภาษีค้างจ่ายพร้อม เบี้ยปรับให้ครบถ้วนการจึง ทำการจดทะเบียนให้รถใหม่ได้

ตรวจสภาพรับรถป้ายแดงออกจากโชว์รูมรถใหม่

ตรวจสภาพรับรถใหม่ การจัดไฟแนนซ์รถป้ายแดง
1.ตัวถัง
______ 1.1 ดูขอบ, สันข้างรถว่าแนวยังตรงดีอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะระหว่างประตู และตัวถัง
______ 1.2 เปิด/ปิดประตูครบทุกบาน และกระโปรงหน้า-หลัง ได้ดี /ล็อคเด็กประตูหลัง
______ 1.3 มีสนิมบริเวณขอบประตูแต่ละบานหรือไม่ แค่ไหน
______ 1.4 เห็นรอยสีใหม่พ่นทับสีเก่าในบริเวณขอบประตูหรือไม่ (ถ้ามีขอบยางกันกระแทกลองแง้มดู)
2. กระจก
______ 2.1 กระจกทุกบานขึ้นลงได้สุดหรือไม่ (ถ้าเป็นกระจกไฟฟ้าควรดูเป็นพิเศษ)
______ 2.2 กระจกมีรอยร้าวกระเทาะหรือไม่อาจจะนําไปสู่การแตกง่ายในอนาคต
______ 2.3 ลวดละลายฝ้ากระจกหลังยังใช้ได้อยู่หรือไม่
______ 2.4 ยางปัดนํ้าฝนต้องเปลี่ยนหรือไม่
______ 2.5 ที่ปัดนํ้าฝนยังใช้งานได้ดี
______ 2.6 ที่ฉีดนํ้าล้างกระจกยังใช้งานได้ดี
______ 2.7 กระจกมองข้างปรับได้ตามปกติ / พับยังไง ให้แสดงให้ดู
3. ยางและล้อ + เครื่องมือ
______ 3.1 เนื้อยางยังนิ่มอยู่พอสมควร / ปียางที่ผลิต / รอยวิ่งของยาง
______ 3.2 ล้อมีรอยบิ่นหรือไม่ / Max เก่า ใหม่
______ 3.3 แม่แรง / ล้ออะไหล่ / ประแจ / เครื่องมือประจำรถครบหรือไม่
4. ภายในห้องโดยสาร
______ 4.1 ลายไม้และหน้าปัดเป็นรอยขูดขีดหรือไม่ / หน้าปัดหลักๆยังใช้งานได้ครบหรือไม่ เช่น
เข็มความเร็ว เข็มนํ้า
มัน เข็มไมล์ ไฟเบรคมือ เข็มความร้อน
______ 4.2 เบาะปรับได้ท่าทีถนัด / เข็มขัดนิรภัย ลองปรับ+กระตุก
______ 4.3 ยางปูพื้นติดรถมาแบบไหน
______ 4.4 เสียบกุญแจรถแล้วบิดสวิทย์ ON (ยังไม่บิดสตาร์ท)
แล้วตรวจดูไฟเตือนที่หน้าปัดขึ้นครบถ้วนหรือไม่
______ 4.4 กระจกมองหลังและข้างปรับได้ทัศน์วิสัยที่ดี/ กระจกข้างปรับได้ ลองพับ / กุญแจรีโมท /Central
Lock
______ 4.5 วิทยุติดรถ/ ทดสอบแอร์ ลองแรงลมทุกระดับ ที่วัดอุณภูมิภายใน-นอก /กดแตร / ที่ปัดน้ำฝน INT /
Senser
ฝน / ไฟเบรคดวงที่ 3/ ไล่ฝ้าหลัง ลองกดแล้วจับดูว่าร้อนไหม…..
______ 4.6 หมุนพวงมาลัยดูจนสุด 2 ด้านมีเสียงดัง? ปรับ ไกล-ใกล้ สูง-ต่ำ/ วิทยุ CD ลองฟังแยกทุกจุดว่า
OK
______ 4.7 กระจกไฟฟ้า 4 บาน ลองกดปุ่มเลื่อนขึ้นลง/ ป้องกันหนีบ? , กระจกข้างปรับได้?
ลองพับดูถ้ามีปุ่มพับ
______ 4.8 สัญญานเตือนไฟเปิด ประตู/เปิด,เบรกมือ ,นาฬิกา
______ 4.9 ที่เปิดกระโปรง หน้า หลัง ฝาน้ำมันอยู่ตรงใหน / ช่องเก็บของต่างๆเปิด-ปิด ได้ดีหรือไม่


5. ห้องเครื่อง
______ 5.1 น้ำมันเบรค/ น้ำมันเครื่อง/ น้ำมันเกียร์/ น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์
______ 5.2 สายพานต่างๆ
______ 5.3 น้ำในหม้อน้ำ+หม้อพัก , กระบอกน้ำฉีดกระจก / ถามให้รู้ว่าอยู่ตรงไหน
______ 5.4 น้ำกลั่นแบตเตอรี่
______ 5.5 ลอง Start เครื่องฟังเสียงดู เร่งเครื่อง
______ 5.6 หมายเลขเครื่อง / หมายเลขตัวถัง / ให้เขาชี้ให้ดู
______ 5.7 แผ่นกันความร้อนมีให้หรือไม่-ราคาเท่าไร-แถมได้มั๊ย
6. กลไกขับเคลื่อน
______ 6.1 ลอง Start เครื่องฟังเสียงดู เร่งเครื่อง
______ 6.2 เครื่องยนต์เดินเรียบ
______ 6.3 พวงมาลัยไม่มีเสียงดังเวลาเลี้ยว
______ 6.4 คลัชท์ไม่แข็งหรือระยะตื้นจนเกินไป (กรณีเกียร์ธรรมดา)
______ 6.5 เข้าเกียร์ได้ครบ (เกียร์ออโต้ให้ดูไฟบอกตำแหน่งเกียร์ที่แท่นเกียร์+หน้าปัด)
______ 6.6 เกียร์ไม่หลวม, ไม่มีเสียงดังเวลาเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่ง
______ 6.7 ความร้อนไม่ขึ้นสูง
______ 6.8 เวลาปล่อยมือแล้วรถไม่เอียง
______ 6.9 ที่เปิดฝาเติมน้ำมันเปิดตรงไหน-สาธิตให้ดูด้วย
7. ระบบปรับอากาศ
______ 7.1 แอร์เย็น / ปรับอุณหภูมิได้
______ 7.2 พัดลมปรับความเร็วได้ตามปกติ
______ 7.3 ช่องลมปรับทิศทางได้ตามปกติ / ตัวครีบมีสภาพแน่นหนาดี
8. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
______ 8.1 ไฟสูง ไฟหน้า และไฟหรี่ เปิดติด ปิดดับ สว่างชัดเจน
______ 8.2 ไฟเลี้ยวใช้ได้ทั้ง 2 ข้าง และลองกดปุ่มไฟฉุกเฉินว่ากระพริบ 2 ข้าง?
______ 8.3 ไฟเบรคใช้งานได้
______ 8.4 ไฟถอยหลังใช้งานได้
9. เอกสารต่างๆ
______ 9.1 สมุดทะเบียน/ ใบโอนรถ / เอกสารประกันภัย / พรบ.
______ 9.2 ใบเสร็จรับเงินค่าdown/ ใบเสร็จค่ามัดจำป้ายแดง
______ 9.3 สมุดคู่มือป้ายแดง/ ป้ายแดงมีตรา ขส /
______ 9.4 คู่มือรถ, เอกสารการรับประกันอุปกรณ์รถ และเช็คระยะฟรี
______ 9.5 ของแถมต่าง ๆ ตามที่ผู้ขายตกลงไว้

การจัดไฟแนนซ์รถป้ายแดง
** บทความนี้ได้คัดลอกมา
เครดิตให้ผู้เขียนบทความนี้ขึ้น
ขอบคุณสำหรับบทความ

กรมการขนส่งทางบกพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่รับชอบผิด เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อ

กรมการขนส่งทางบก , สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5
1032 ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2272-3100

รับผิดชอบในเขตพื้นที่ 
ป้อม ปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน ดุสิต บางซื่อ บางเขน ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม สัมพันธวงศ์  บางรัก พญาไท ห้วยขวาง บางกะปิ ดอนเมือง ราชเทวี หลักสี่ และวังทองหลวง
·      สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1
9/99 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 
โทร. 0-2415-7337

รับผิดชอบในเขตพื้นที่
เขตบางขุนเทียน บางคอแหลม จอมทอง ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ คลองสาน สาทร ทุ่งครุ บางบอน และยานนาวา
·      สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2
51 ถนนสวนผัก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
โทร. 0-2882-1620-35

รับผิดชอบในเขตพื้นที่
เขตตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และ             ทวีวัฒนา
·      สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3
ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2332-9688-91

รับผิดชอบในเขตพื้นที่
เขตพระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก
·      สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4
34 หมู่ 6 ถนนร่วมพัฒนา แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 
โทร. 0-2543-5500-2

รับผิดชอบในเขตพื้นที่
เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม สะพานสูง คันนายาว และคลองสามวา

สถานที่ติดต่อ แจ้งใช้รถยนต์ประกอบการขนส่งป้ายเหลือง

ประเภทการประกอบการขนส่ง / สถานที่ติดต่อ
การประกอบการแบ่งเป็น  4  ประเภท ดังนี้

1. การขนส่งประจำทาง  
หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด  ได้แก่รถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพฯ   รถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯไปส่วนภูมิภาค  รถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดในส่วนภูมิภาค  รถโดยสารประจำทางในเขตจังหวัดในส่วนภูมิภาค    
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ   มีพื้นเป็นสีเหลือง ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น  10-9999 
 สถานที่ติดต่อ  ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล) 
- ส่วนกลาง  ที่ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง  สำนักการขนส่งผู้โดยสาร  กรมการขนส่งทางบก  
- ส่วนภูมิภาค  ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด

2. การขนส่งไม่ประจำทาง  
หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง  และห้ามมิให้กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกัน หรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำ ทาง  แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 การขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร  ได้แก่ การขนส่งเพื่อสินจ้างด้วยรถที่ใช้ในการ
ขนส่งผู้โดยสารไปยังจุดต่าง ๆ โดยจัดเก็บค่าขนส่งและหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง
เป็นรายบุคคล หรือโดยการเหมาเป็นรายเที่ยว รายวัน หรือรายเดือน
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ   มีพื้นเป็นสีเหลือง  ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 30-9999
สถานที่ติดต่อ  ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล) 
- ส่วนกลาง   ที่ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร  สำนักการขนส่งผู้โดยสาร  กรมการขนส่งทางบก
2.2 การขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุก  ได้แก่ การขนส่งเพื่อสินจ้างด้วยรถที่ใช้ในการ
ขนส่ง สัตว์หรือสิ่งของ (บรรทุกสินค้าหรือสิ่งของของผู้ว่าจ้างหรือผู้ใช้บริการ) ไปยังจุดหมายปลายทางต่าง ๆ โดยจัดเก็บค่าขนส่งและหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ    มีพื้นเป็นสีเหลือง ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 70-9999
สถานที่ติดต่อ  ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนัก
งานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล) 
- ส่วนกลาง   ที่ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์   
  หรือสิ่งของ  สำนักการขนส่งสินค้า  กรมการขนส่งทางบก    
- ส่วนภูมิภาค   ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด

3. การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก  
หมายความว่า  การขนส่งคนหรือสิ่งของ หรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด ด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม ได้แก่ รถโดยสารรับจ้างขนาดเล็ก ซึ่งมีเส้นทางเดินรถในเขตตัวเมืองที่มีพื้นที่ไม่ไกลมากนัก และมักจะเป็น    เขตท้องที่ที่รถโดยสารขนาดใหญ่  ไม่สามารถเข้าไปรับ-ส่งผู้โดยสารได้โดยสะดวก จึงจำเป็นต้องใช้รถขนาดเล็ก
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ    มีพื้นเป็นสีเหลือง  ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ  เช่น  20-9999
สถานที่ติดต่อ  ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล) 
- ส่วนกลาง   ที่ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร  กรมการ   
   ขนส่งทางบก  
- ส่วนภูมิภาค   ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด

4. การขนส่งส่วนบุคคล  
หมายความว่า  การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเอง ด้วยรถที่มีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าหนึ่งพัน  หกร้อยกิโลกรัม  โดยมิได้ใช้รถนั้นเป็นเครื่องมือรับจ้างหารายได้  แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
4.1   การขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ    มีพื้นเป็นสีขาว ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ  เช่น  40-9999
4.2  การขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถบรรทุก (รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ)
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ    มีพื้นเป็นสีขาว ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ  เช่น  80-9999
สถานที่ติดต่อ  ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล) 
 - ส่วนกลาง    ที่งานประกอบการขนส่ง ส่วนทะเบียนรถขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร  พื้นที่ 5   กรมการขนส่งทางบก  หรือสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 – 4  
 - ส่วนภูมิภาค   ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งสาขา
 
เบอร์โทรศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

1.   ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก  กรมการขนส่งทาง บก (อาคาร 3 ชั้น 2)  โทร. 0 2272-5506-7 , 0 2272-5453
2.    ฝ่ายใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง  สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก  กรมการ     ขนส่งทางบก (อาคาร 3 ชั้น 3)  
รถโดยสาร โทร. 0 2272-5443                                                      
รถบรรทุก  โทร. 0 2272-5445 ,  0 2272-5439
3. งานประกอบการขนส่ง  สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5    กรมการขนส่งทางบก (อาคาร 6 ชั้น 1)    โทร. 0 2272-5479
4.    งานประกอบการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1   โทร. 0 2415-7337            ต่อ 207,208
5.    งานประกอบการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2   โทร  0 2424 4265 ,              0 2882-1620-35   ต่อ 120 
6.    งานประกอบการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3   โทร. 0 2332-9035
7.    งานประกอบการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4   โทร. 0 2543-5505
 
การขออนุญาตประกอบการขนส่ง
ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลมีอายุ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
เอกสารหลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน  สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)  
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์,  สำเนาหนังสือ บริคณฑ์สนธิและข้อบังคับ, สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. สำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาใบแจ้งจำหน่ายรถ
4. เอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าประกอบธุรกิจการค้า  เช่น ใบทะเบียนพาณิชย์   หลักฐานการเสียภาษีเงินได้  ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.01).........
5. เอกสารหลักฐานแสดงสถานที่เก็บ ซ่อม บำรุงรักษารถ เช่น สำเนาโฉนดที่ดินและหรือสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่  กรณีสถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถไม่ใช่ของผู้ขออนุญาตเอง แต่เป็นของบุคคลอื่น หลักฐานให้สิทธิใช้สถานที่ให้จัดทำเป็นนิติกรรมสองฝ่าย และต้องแสดงหลักฐานสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้ใช้สถานที่ประกอบด้วย
6. หนังสือมอบอำนาจ กรณีไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง

รถยนต์เปลี่ยนเครื่อง วางเครื่อง ขั้นตอนแจ้ง ระบุดำเนินการลงเล่มทะเบียนให้ถูกต้อง ที่กรมขนส่งทางบก

ขั้นตอนการแจ้งเปลี่ยนเครื่องที่กรมขนส่ง

1. นำรถยนต์คันที่เปลี่ยนเครื่องแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้งลงเล่มทะเบียนให้ตรง และ ถูกต้อง ไปยังกรมการขนส่งในเขตพื้นที่แจ้งใช้รถยนต์

2.ติดต่อ ทำเรื่องแจ้งยกเลิกการใช้เครื่องยนต์เดิมก่อน ---> ติดต่อที่ งานทะเบียนและภาษีรถ ---> ติดต่อแผนตัดบัญชีและเครื่องยนต์ ---> ส่งต่อไปยังงานบัญชีเครื่องยนต์

3.ดำเนิน การข้อ2 เสร็จ เท่ากับว่า แจ้งยกเลิกเครื่องยนต์เดิมเสร็จ ---> เจ้าหน้าที่จะให้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปเข้าช่องตรวจสภาพรถยนต์ ---> นำรถยนต์ไปตรวจสภาพ ---> รอรับผลการตรวจสภาพรถยนต์คันดังกล่าว (ผลจะมีผ่าน กับไม่ผ่าน ถ้าตรวจสภาพผ่านไม่ผ่านก็จะทำการแจ้งใช้เครื่องยนต์ใหม่ไม่ได้)

4.หลัง จากผลการตรวจสภาพรถยนต์คันดังกล่าวผ่านแล้ว ---> กลับไปงานทะเบียนและภาษีรถ ---> เขียนคำขอ+ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนต่อ เจ้าหน้าที่ ---> เจ้าหน้าที่จะทำการค้นทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าว(เช็กต้น) ---> เมื่อพอต้นแล้วจะทำการแก้ไขเล่มทะเบียนให้ตรงและถูกต้องตามคำขอ ---> ชำระเงิน ---> รับเล่มทะเบียนที่แจ้งเปลี่ยนเครื่องแล้ว ---> **ตรวจทานรายละเอียดในรายการที่แจ้งไว้ ---> ทุกอย่างแก้ไขถูกต้อง ก็เสร็จพิธี กลับบ้าน (ระยะเวลา ช้า-เร็ว ขึ้นอยู่กับจำนวนรถที่ช่องตรวจสภาพ ปริมาณเรื่องที่ยื่น มากน้อย รวมรวบแล้วเสียเวลาขั้นต่ำต้องมี 2 ชม.ถึง5ชม.)

** สิ่งที่ต้องตรวจทานในเล่มทะเบียนที่แก้ไขเสร็จแล้ว
- ยี่ห้อ รุ่น แบบ เลขทะเบียน ปีจดทะเบียน
- เลขตัวถังรถยนต์
- เลขเครื่องยนต์ ความจุ ซีซี
- ชื่อ นามสกุล ผู้ถือกรรมสิทธิ์ และ ที่อยู่

หมายเหตุ เอกสารที่ต้องใช้การเปลี่ยนเครื่อง.

1. สำเนา บัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าว เซ็นต์รับรองสำเนา และ ลายเซ็นต์ต้องเซ็นต์เหมือนในเล่มทะเบียนรถยนต์
หากเจ้าของรถเป็นนิติบุคคล ใช้สำเนาหนังสือรับรองบริษัทพร้อมลงนามรับรอง และประทับตราบริษัท และ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม
(ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ถ้ามี)

2.เล่มทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าว (ตัวจริง)

3.หลักฐาน การซื้อ ขาย เครื่องยนต์ ตัวจริง
- บิลเงินสด/ใบกำกับภาษี
- หนังสือแจ้งจำหน่ายและการรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์
- หนังสือขอแก้ไขชื่อ และที่อยู่ในบิลเงินสด, ใบกำกับภาษี (ถ้ามี)

เอกสารที่ใช้เสริมในกรณีทำแทนผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์
4.หนังสือมอบอำนาจพร้อมลายเซ็นต์ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้มอบ ต้องเซ็นต์ให้ถูกกับเล่มทะเบียนรถยนต์

5.สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้รับมอบ เซ็นต์รับรองสำเนา

---------------------------

กรมการขนส่งทางบก( จัตุจักร ) ครอบคลุมเขตพื้นที่ บางกะปิ บางเขน ป้อมปราบ ห้วยขวาง บางรัก บางซื่อ ปทุมวัน พญาไท ดุสิต ลาดพร้าว
ดอนเมือง จัตุจักร ดินแดง สัมพันธวงศ์ ราชเทวี สายไหม หลักสี่ วังทองหลาง
-รถเก๋ง โทร. 02-272-5544
-รถปิคอัพ โทร. 02-272-5504
-รถจักรยานยนต์ โทร. 02-272-5488
-ตัดบัญชีเครื่องยนต์ ชั้น 4 โทร. 02-272-5486

สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 1 ตั้งอยู่ที่เขตบางขุนเทียน โทร. 02-415-7337
ครอบคลุมเขตพื้นที่ บางขุนเทียน คลองสาน ธนบุรี สาธร ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ ยานนาวา บางบอน จอมทอง บางคอแหลม


สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 2 ตั้งอยู่ที่เขตตลิ่งชัน โทร. 02-882-1620-35
ครอบคลุมเขตพื้นที่ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด บางแค หนองแขม ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา พระนคร ภาษีเจริญ
เบอร์ติดต่อภายใน 
114,115 งานจักรยานยนต์
106,107 งานรถปิคอัพ
103,109 งานรถเก๋ง
102,104 งานรถขนส่ง
120 งานตรวจสภาพรถยนต์
123,116 งานประกอบการขนส่ง

สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 3 ตั้งอยู่ที่เขตพระโขนง โทร. 02-332-9688 , 02-332-9694-7
ครอบคลุมเขตพื้นที่  วัฒนา บางนา บางจาก พระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย

สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 4 ตั้งอยู่ที่เขตมีนบุรี โทร. 02-543-5500-2
ครอบคลุมเขตพื้นที่  คันนายาว คลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม สะพานสูง

หมายเหตุ : สำนักงานขนส่งทุกแห่ง ปิดรับชำระเงิน เวลา 15:30 น. วันจันทร์ - วันศุกร์

ข้อควรรู้ เคล็ดลับ การเลือกซื้อรถยนต์มือสอง




ข้อควรรู้ เคล็ดลับ การเลือกซื้อรถยนต์มือสอง

การจะเลือกซื้อรถยนต์มือสองนี่เป็นที่หน้าหนักใจครับ เพราะรถยนต์จัดเป็นสินทรัพย์แบบ ใช้งานแล้วสึกหรอได้ เคลื่อนที่ได้ ดังนั้นรถยนต์มือสอง จึงมีสภาพแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ของเจ้าของเดิมแต่ละท่าน ว่าใช้งานมาอย่างไร การขับขี่รุนแรงไหม ดูแลรักษาดีแค่ไหน สภาวะแวดล้อมใช้งานเป็นอย่างไร มีอุบัติเหตุหรือไม่ ไม่ใช่ซื้อรถมาแล้ว ต้องซ่อมกันแทบไม่ไหว ขับไม่ดีซ่อมแล้วหาเซนเตอร์ไม่ได้ ผุเก่าเร็วกว่ากำหนด ต่างๆเหล่านี้จากการสัมภาษจาก เต้นรถมือสองมาหลายที่ แต่ละที่มีประสบการณ์การขายมาแล้วเป็นสิบปี จนเราได้ข้อสรุป และเคล็ดลับต่างๆแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อรถยต์มือสอง มาเปิดเผยกันแบบที่ซื้อมาแล้วไม่ต้องมากังวนเรื่องอุบัติเหตุ หรือการซ่อมแซม มาแนะนำกันอย่างง่ายๆดังนี้

เต้นรถเขามีวิธีดูรถกันอย่างไร
1. ดูกันตั้งแต่จอดอยู่ไกลๆ ซักราวๆ 5 - 3 เมตร ดูรูปทรงของตัวรถทั้งหมด ว่ามีการเอียงหรือไม่ เช่น
1.1 กันชนหน้า ไฟหน้า กระจังหน้า ต้องได้รูปไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
1.2 ฝากระโปรงหน้า สังเกตร่องระหว่างฝากระโปรงกับแก้ม ต้องเป็นสันตรงกันทั้งสองข้าง ด้านหน้าต้องตรงกันรับกับไฟหน้าและกระจังหน้า
1.3 เสาหลังคา ว่ามีการโน้มเอียงไปหรือไม่ มีความนูนโค้ง หรือเสียรูปไปจากของโรงงาน
1.4 หลังคา ว่ามีการเอียง การยุบ หรือโค้งไม่ได้รูปอย่างไร
1.5 ประตู ร่องระหว่างประตู ระหว่างแก้มหน้า เสาประตู ประตูหลัง จนถึงแก้มหลัง ว่าร่องประตูต่างๆ สังเกตเปรียบเทียบกับรถป้ายแดง สังเกตว่าร่องประตูต่างๆจะตรงกัน
1.6 กันชนท้าย และฝากระโปรงท้าย ต้องตรงกันไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง
1.7 ความสูงต่ำ ว่ามีอาการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ หรือมีการดัดแปลงช่วงล่างมาอย่างไร
     
2. สีรถ ดูระยะเริ่มใกล้ ราวๆ 1- 3 เมตร ดูสีรถรอบคัน ว่ามีส่วนไหนที่ทำสีมาแล้วบ้าง สังเกตุสีที่แตกต่าง ความเรียบของผิวรถ ตำหนิต่างๆเกี่ยวกับสี หรือว่าเคยทำสีมาทั้งคัน ถ้าทำสีมาทั้งคันแล้วต้องดุให้หนักครับ ต้องสันนิฐานว่าทำสีทั้งคันเพราะอะไร เจ้าของเดิมเบื่อไม่ชอบสีเดิม สีซีดแล้วไม่สวย เกิดอุบัติเหตุทุกที่ หรือรุนแรงจนอู่ต้องตัดสินใจทำสีใหม่ทั้งคัน

3. เคาะฟังเสียง โดยการแอบไล่เคาะรถบางส่วนหรือรอบคันเพื่อฟังเสียง รถที่ทำสีแล้วมักจะมีการโป๊ว การโป๊วหนาย่อมหมายถึงอุบัติเหตุมาก เราสามารถเคาะดูเสียงที่แตกต่างกันได้ โดยการไล่เคาะฟังเสียงไปทั้งๆคัน

4. คานหน้ารถ ต้องเปิดฝากระโปรงหน้ารถดูว่า คานหน้าที่ยึดหม้อน้ำว่ามีการทำสีมาหรือไม่ มีการโป๊วสี หรือซ่อมมาอย่างไร สังเกตจากรูน็อตต่างๆ ต้องยังกลม และหมายเลขหน้ารถต้องยังชัดเจน หรือแผ่นเพทต้องไม่เคยชำรุด ทั้งคานบนล่างต้องได้รูป

5. ภายในห้องเครื่อง ว่ามีการทำสีมาแล้วหรื่อไม่ สังเกตรูปทรงต่างๆ ต้องจับผิดทุกจุด ทั้งรูน็อตต่างๆ รูปทรงต่างๆว่าต่างจากของโรงงานมาอย่างไร

6. ภายในฝากระโปรงท้าย เปิดดูว่าคานยึดฝากระโปรงท้าย เบ้ายึดไฟท้าย ห้องเก็บยางอะไหล่ ว่ามีการทำสี เคาะ โป๊ว หรือ ตัดเชื่อมมาหรือไม่ ควรก้มดูด้านล่าง สังเกตหูลากรถ ว่าต่างจากของเดิมมาอย่างไร

7. ใต้ท้องรถ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมองข้ามกัน แต่ใต้ท้องรถบ่งบอกถึง การใช้งานแบบทุระกันดาร การตัดต่อตัวถัง การเสียรูปของตัวรถ ความผุของตัวถังที่มักเริ่มจากพื้นรถเป็นอันดับแรก สังเกตเฟรมใต้ท้อง ความบุบครูด สนิมที่เริ่มผุ หรือการแยกกันแล้วของตัวถังรถ

8. ภายในรถ ดูรถมาตั้งนานได้เปิดดูภายในกับเขาเสียที ไม่ใช่จะซื้อรถต้องเปิดดูภายในเป็นอันดับแรก มาดูว่าต้องดูอะไรบ้าง
8.1 เบาะรถยนต์ ดูว่าเก่าขาด หรือยุบตัวทางด้านไหน หรือเปลียนใหม่มาแล้ว เปลี่ยนเพราะอะไร ใช้งานหนักจนเบาะชำรุดมาก หรือเบาะเดิมไม่สวยถึงเปลี่ยนใหม่
8.2 คอนโซลหน้า ว่าเป็นของเดิมจากโรงงาน ไม่เสียรูป มีการแตกที่ผิดปกติ หรือเปลี่ยนใหม่เพราะอะไร
8.3 หน้าปัด เป็นการดูว่าหน้าปัดยังเป็นของเดิมตรงรุ่น ดูระยะกิโลการใช้งาน แต่การเชื่อถือระยะกิโลเป็นหลัก ก็ยังเป็นการผิด เพราะสามารถปรับแต่งกันได้ หรือรถใช้น้อยแต่เครื่องพัง วิ่งลุยน้ำทุกวัน หรือใช้งานหนัก สู้เลือกรถใช้งานมาก แต่ขับถนอมดีกว่า
8.4 พวงมาลัย และ หัวเกียร สังเกตพวงมาลัยว่า มีการยุบอย่างไร พวงมาลัยและหัวเกียรที่ผ่านการใช้งานหนัก จะมีการสึกหรอสูง จนเป็นมัน เป็นรอยแตก สังเกตลายที่แตกต่างบนพวงมาลัย
8.5 ผ้าหลังคารถ ว่ายังเป็นของเดิมมาจากโรงงาน มีการประกอบยึดใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่เพราะอะไร

9. เครื่องยนต์ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน สังเกตหาการซ่อมแซม สตารท์เครื่องฝังเสียง เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง แล้วสังเกตไอน้ำมันเครื่อง เสียงท่อไอเสีย ควันจากท่อ หรือถ้ามีบุ๊กเซอร์วิสติดมา จะเป็นการดีครับ รองเปิดดูประวัติการซ่อม และดูด้วยว่าต้องต้องตรงกับทะเบียนรถ และเลขไมล์ในตัวรถ

10. ช่วงล่าง และล้อยาง รองหมุนโยกพวงมาลัยแรงๆ แต่การรองขับขี่เป็นการดีที่สุด ทดสอบการเกาะถนนทางตรงและทางโค้ง ศูนย์ของรถต้องไม่กินซ้ายกินขวาต้องรองเลี้ยวกลับรถแบบสุดๆทั้งซ้ายและขวา การคืนพวงมาลัย ขึ้นเนินลูกระนาด หรือรองบนทางขรุขระ ทุกรูปแบบที่สามารถจะทดสอบได้

ข้อแนะนำ
การเลือกซื้อรถมือสอง มีอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงอย่างที่ควรรู้ไว้ครับ เช่น การตัดต่อตัวถังรถยนต์ การสวมทะเบียนรถ การทำเลขตัวถังขึ้นใหม่ การทำทะเบียนปลอม การซ่อมรถจากซากรถ
การดัดแปลงรถแท็กซี่ การดัดแปลงจากรถรถสองแถววิน แต่การเลือกที่ดีที่สุด คือการหาผู้ที่เชี่ยวชาญดูรถและช่วยตัดสินใจให้ การซื้อจากเจ้าของรถที่รู้จักกัน เต้นรถที่มีชื่อเสียงและไว้ใจได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเต้นรถส่วนมามักจะเลือกซื้อรถที่สภาพดี เพื่อป้องกันการขาดทุน การขายไม่ได้ หรือปัญหาหลังการขายอยู่แล้ว และอื่นๆอีกมากครับเกินการบรรยายที่ต้องใช้วิจารณญาณของท่านขอฝากด้วยครับ

เครดิตยกให้ผู้เขียนบทความนี้
ซึ้งผู้ทำบล็อคไม่ทราบแหล่งที่มา

เปิดตัวบริการ พ.ร.บ. บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ จักรยานยนต์


บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  จำกัด ได้จัดทำ "โครงการหน่วยบริการพ.ร.บ. บริษัทกลางฯในโรงพยาบาลหรือ Survey in Hospital  " ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ประสบภัยจากรถ  ที่มาใช้บริการโรงพยาบาลทั่วประเทศ

   นายสมพร  สืบถวิลกุล  กรรมการผู้จัดการบริษัท  กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  จำกัด
เปิดเผยว่า  ตามที่บริษัท กลางฯ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
และค่าสินไหมทดแทนตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  แทนบริษัทประกันภัยทุกบริษัท
โดยมีสาขาให้บริการแก่ประชาชนทุกจังหวัดทั่วประเทศนั้น  โดยปัจจุบัน
บริษัท กลางฯ  ได้รับมอบหมายจากภาคธุรกิจประกันวินาศภัยให้บริษัท กลางฯ  รับประกัน
ภัยพ.ร.บ. เฉพาะรถจักรยานยนต์แต่เพียงบริษัทเดียว  ทำให้จำนวนรถจักรยานยนต์ที่มีการเอาประกันภัย
พ.ร.บ.ในแต่ละปีประมาณกว่า 10 ล้านคันนั้นมีการเอาประกันภัยไว้กับบริษัท กลางฯคุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด  ซึ่งหมายถึงจำนวนลูกค้าของบริษัทกลางฯที่เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว
ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับการใช้สิทธิของผู้ประสบภัยจากรถทั้งปัจจุบันและอนาคต 
ทางบริษัทกลางฯจึงได้จัดทำโครงการ " หน่วยบริการ พ.ร.บ.บริษัท กลางในโรงพยาบาล
หรือ Survey  in  Hospital " ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ  

ประการแรกเพื่อเป็นการขยายจุดบริการทางด้านสินไหมทดแทนพ.ร.บ. ให้กับผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับความสะดวก  และรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประการที่สอง เพื่อเป็นการบูรณาการ  การให้บริการประชาชนร่วมกันกับโรงพยาบาลในการคุ้มครองดูแลสิทธิของผู้ประสบภัยจากรถอย่างแท้จริง
   

โดยโครงการดังกล่าวนี้ทางบริษัท  กลางฯได้รับความร่วมมือและความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากโรงพยาบาลต่างๆที่เข้าร่วมโครงการโดยทางบริษัท  กลางฯ  จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทไปประจำที่โรงพยาบาลซึ่งมีการจัดทำและติดตั้งเคาน์เตอร์  หน่วยบริการพ.ร.บ.บริษัท กลางฯไว้ในโรงพยาบาลนั้น
แล้วในเบื้องต้นนี้จะมีการจัดส่งไปประจำตามโรงพยาบาลศูนย์  จำนวน 30 แห่งทั่วประเทศ
และจะขยายไปตามโรงพยาบาลที่มีจำนวนปริมาณการใช้บริการของผู้ประสบภัยจากรถจำนวนมาก
ในแต่ละจังหวัดในอนาคต  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้่ที่บริษัท  กลางฯคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด


CALL CENTER  02-1009191 หรือที่สายด่วน 1356 ที่ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่แบ่งเป็น 2 แบบ
1. กรมธรรม์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่
2. กรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่อายุผู้ขับขี่มาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดอัตรา เบี้ยประกันภัยและ คุ้มครองผู้ขับขี่รถตามที่ระบุในกรมธรรม์ กรณีบุคคลที่มิได้ระบุชื่อมา ขับขี่ก็ไดรับความคุ้มครองแต่ผู้เอาประกันต้องร่วมรับผิดค่าเสียหายที่ เกิดขึ้นของอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย โดยผู้เอาประกันสามารถระบุชื่อ ผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน 2 คน โดยจะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยตามช่วง อายุของผู้ขับขี่ ดังนี้
  • ผู้ขับขี่อายุ 18 -24 ปี ลดเบี้ย 5 %
  • ผู้ขับขี่อายุ 25 -35 ปี ลดเบี้ย 10 %
  • ผู้ขับขี่อายุ 36 -50 ปี ลดเบี้ย 20 %
  • ผู้ขับขี่อายุ 50 ปีขึ้นไป ลดเบี้ย 15 % 
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง ต้องแจ้งให้บริษัท เพื่อตรวจสอบความ เสียหาย หากเก็บบาดแผลของอุบัติเหตุไว้และแจ้งเคลมทีหลังผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่า EXCESS ให้กับบริษัท
** ความเสียหายส่วนแรก EXCESS หมายถึง จำนวนเงินค่าความเสียหายในแต่ละครั้งที่ผู้เอาประกันภัย ตกลงรับผิดชอบเองในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัตเหตุ โดยแบ่งดังนี้

1. ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ (EXCESS)สำหรับของรถที่มีความเชื่อมั่นตนเองและมีความระมัดระวังในการ ขับรถ อาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภท ความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความ เสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อ ทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตาม เงื่อนไขในสัญญา

2. ความเสียหายส่วนแรกกรณีผิดสัญญากรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อแต่บุคคลอื่นขับขี่ และเป็นฝ่ายต้อง รับผิดชอบ ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วน แรกเองต่อความเสียหายดังนี้6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก กรณีใช้รถผิดประเภท

กรณีใช้รถผิดประเภทเช่น นำรถส่วนบุคคลไปรับจ้าง ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้2,000 บาท แรก ของความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก